วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Poster


Sevensign By Khao-San


ชื่อโครงการออกแบบ : SEVENSIGN BY KHAOSAN(สัญญะคติ7)
สื่อในการออกแบบ : ออกแบบไอคอน + ทัศนคติของหลายๆคนที่มาถนนข้าวสาร + กล่องรวมสัญลักษณ์
ที่มาความสำคัญของโครงการออกแบบ :
ความน่าสนใจอยู่ที่การเอาข้อมูลดิบที่เป็นคำพูดของคนเดินถนนข้าวสารที่ได้ มาออกแบบเป็นสัญลักษณ์
โดยผ่านการรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ที่ค่อนข้างลึกซึ้งและมาทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ

วัตถุประสงค์ในการออกแบบ :
เพื่อทดลองสิ่งใหม่ๆในการแปลงทัศนคติมาเป็นสัญลักษณ์
สามารถบอกความเป็นถนนข้าวสารได้ เพราะ วิเคราะห์จากข้อมูลแล้วว่า คนที่มาข้าวสารนั้นมาเพราะว่า
ที่นี่คือถนนข้าวสารและไม่สามารถไปที่อื่นเพื่อทดแทนถนนข้าวสารได้
อีกทั้งยังได้สัญลักษณ์ไปใช้ในร้านค้าและบริการต่างๆ และยังบอกตัวตนความเป็นถนนข้าวสาร

Something in KHAO-SAN (week3)


บริบท : ถนนข้าวสาร เวลา 01:00
การเก็บข้อมูลเขิงตัวเลข : 30 ก้าว หยุดเก็บข้อมูลก้าวสุดท้าย
10 คำ เป็นคำที่เป็นคำหยาบจากเสียงที่ได้ยิน
18 วินาที เก็บข้อมูลทุก 9 วินาที

สังเคราะห์ข้อมูล : หลังจากได้ข้อมูลที่เป็นคำที่เป็นคำหยาบแล้ว รู้สึกว่าถ้าคำเหล่านั้นไม่เป็นคำหยาบ
ผู้รับฟังคงไม่มีผลต่อถ้อยคำนั้นๆ จึงได้แนวคิดว่า อยากจะใช้คำหยาบ มาทำรูปลักษณ์ใหม่เพื่อให้ดูไม่รู้สึกว่าเป็นคำหยาบคาย ... น่าสนุกดี

ชื่อผลงาน : คำ(ไม่)หยาบ

หลักการของผลงาน : แผ่นที่ 1-10 จะเรียงจากคำหยาบที่ได้ยินเป็นคำแรกจนถึงคำสุดท้ายคือคำที่ 10
ขนาดของตัวอักษรนั้นจะมีขนาดที่ต่างกันคือ วัดจากเสียงที่ได้ยินถ้าหากได้ยินจากระยะใกล้ ตัวอักษรจะมีขนาดใหญ่
ถ้าหากได้ยินจากระยะไกลตัวอักษรจะขนาดเล็ก

เทคนิค : ใช้กระดาษไข เพื่อให้เห็นถึงลำดับก่อนหลังของคำหยาบคายที่ได้ยิน และขนาดคือระยะใกล้ไกลของเสียง

สิ่งที่ผู้รับชมจะได้ : แนวคิดและแง่มุมที่แปลกใหม่

Something in KHAO-SAN (week2)

ทำไมต้องข้าวสาร?

บริบท : ถนนข้าวสาร เวลา 21:00

การเก็บข้อมูลเชิงตัวเลข : 18 วินาที เก็บข้อมูลขณะเดินทุก 10 วินาที
30 ก้าว หยุดเก็บข้อมูลก้าวสุดท้าย เก็บข้อมูลเฉพาะด้านหน้า
10 เมตร เก็บข้อมูลต่อหลังจากเดินครบ 30 ก้าว

สังเคราะห์ข้อมูล : จากการที่เก็บข้อมูลและเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังพบอยู่นั้น ก็เกิดคำถามว่า “ทำไมต้องข้าวสาร?” จึงเกิดความสงสัย อยากรู้
จึงหยิบยกประเด็นข้อสงสัยนี้มาเป็นงานดีไซน์เพื่อให้เกิดประโยชน์และได้ทราบถึงมุมมองต่างๆของผู้คนที่มาถนนข้าวสาร
จากนั้นจึงเดินสัมภาษคนในบุคลิกและเพศต่างๆกันเพื่อให้ได้ซึ่งคำตอบและมุมมองต่างๆไม่ใช่ทั้งหมดแต่เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น
ผมจึงสรุปเป็นคำ 3 ถาม คือ
1. มาทำอะไรที่ข้าวสาร?
2. ทำไมต้องเป็นข้าวสาร
3. ข้าวสารดียังไง?




ทำไมต้องข้าวสาร?

Something in KHAO-SAN (week1)

บริบท : ถนนข้าวสาร เวลา 21:00

การเก็บข้อมูลเชิงตัวเลข : 18 วินาที เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์บนถนนข้าวสาร
30 ก้าว หยุดเก็บข้อมูลทุก 5 ก้าว เก็บข้อมูลเฉพาะด้านหน้า

สังเคราะห์ข้อมูล : หลังจากเดินเก็บข้อมูลแล้ว วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้คนมาเดินถนนข้าวสารเพราะ
มีร้านค้า แม่ค้า บริการ รถเข็ญขายของ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวมาที่นี่และมาที่นี่เพื่อหาสีสันของชีวิต มาพักผ่อน ฯลฯ
และมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอด
ผมจึงสรุปเป็นคำ 3 คำและในภาพต้องมีสิ่งเหล่านี้ คือ
1. ร้านค้า แม่ค้า บนถนนเช่นร้านรถเข็ญ แผงลอยบนถนนข้าวสาร
2.สีสันของชีวิตที่ข้าวสาร การพักผ่อน
3. การเคลื่อนไหว
(และในภาพหนึ่งภาพต้องสื่อถึง3คำนี้)
สิ่งที่ผู้รับชมจะได้ : ได้เห็นถึงเทคนิคการถ่ายภาพและวิถีชีวิต บรรยากาศของถนนข้าวสาร

























วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ?

ผมคิดว่าโลกใบนี้มีหลายๆสิ่งที่วุ่นวายเต็มไปหมด ทั้งผู้คน วัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆนาๆ
นักออกแบบเป็นเหมือนคนที่คอยทำให้โลกนี้
มีความชัดเจนมากขึ้น ทำสิ่งที่ไม่น่าดูทำให้คนอยากจะจับต้องมากขึ้น
เป็นเหมือนแว่นขยายที่ขยายมุมมองเล็กๆที่น่าสนใจให้เป็นสิ่งใหญ่ที่ดี
และทำให้เกิดประโยชน์จากการมองสิ่งเล็กๆและสิ่งเล็กๆนั้นอาจจะเป็นสิ่งใหญ่ก็ว่าได้ อาจจะสรุปได้ว่านักออกแบบทำให้โลกใบนี้เกิดทุกอย่างก็ว่าได้
รวมถึงให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้นกว่าเดิม ... แน่นอน


ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ? คำถามนี้ผมรู้สึกว่าคำตอบของมันเป็นอะไรที่ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่สำหรับผมคิดว่า โลกนี้ต้องมีนักออกแบบเพราะว่า
นักออกแบบสามารถจัดการสิ่งใหญ่ๆให้เป็นสิ่งเล็กๆได้ และสามารถทำให้สิ่งเล็กๆเกิดเป็นสิ่งใหญ่ๆที่น่าสนใจได้
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆสำหรับผมนักออกแบบคือ ผู้จัดการ หน้าที่ก็เหมือนผู้จัดการบริษัทต่างๆทั่วไป
คอยจัดการกับปัญหาต่างๆในบริษัทเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดของบริษัท ทั้งนี้ทั้งนั้นนักออกแบบก็เหมือนผู้จัดการ


สรุปถ้าถามว่า ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ? ผมก็จะตอบว่า นักออกแบบเป็นผู้คอยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
ทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เราตื่นนอน แต่งตัวออกไปข้างนอก เราต้องเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่
นี่ก็คือเป็นการออกแบบ หรือตั้งแต่เราเกิด พ่อแม่ตั้งชื่อให้เราก็ถือเป็นการออกแบบ ก็สามารถบอกได้ว่า
ทุกอย่างบนโลกใบนี้มีความเกี่ยวข้องสืบโยงกับ การออกแบบ และนักออกแบบก็สำคัญต่อโลกใบนี้มาก


แล้วจะเขียนให้ยืดยาวทำไม?ว้าาา

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

" โลโก้ช้างศึกเชียร์ไทย "



"โลโก้ช้างศึกเชียร์ไทย" (2008)

โลโก้นี้ เป็นโลโก้กองเชียร์ทีมไทย
ออกแบบโดย อ็อด"สุรัตน์ โคตรมุงคุณ" ที่เป็นผู้ออกแบบโลโก้ให้กับอีกหลายสโมสรในไทยพีเมียร์ลีก

โลโก้นี้ใช้ช้างศึกเป็นตัวหลักเพราะว่าช้างเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเรา
และเป็นสัตว์ที่แข็งแกร่ง สู้งาน ซื่อสัตย์ ซึ่งความหมายเหล่านี้เป็นความหมายที่ดีและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อีกด้วย


สาร (messages)
: ช้างศึกเชียร์ไทย


แนวความคิด (concept)
: ช้างเป็นสัตว์ที่แข็งแรง แข็งแกร่ง และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย


รูปแบบการสื่อสาร (form)
: โลโก้


สื่อที่เลือกใช้ (media)
: ลายเสื้อ,ธงสัญลักษณ์,ฯลฯ


วิธีการสื่อสาร (how to communicate)
: สื่อสารผ่านลายเสื้อฯลฯ รวมถึงทางวัฒนธรรมการเชียร์บอล


เป็นการสื่อสารแบบทางตรงหรือทางอ้อม (direct or indirect communication)
: เป็นการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ทางตรง คือ ลายเสื้อ,ธงสัญลักษณ์,ป้ายต่างๆ ฯลฯ
- ทางอ้อม คือ วัฒนธรรมการเชียร์บอล และ กลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มหรือองค์กร


กลุ่มเป้าหมาย (target group)
: คนที่สนใจฟุตบอลไทย ไม่จำกัดเพศและวัย



ความเชื่ีอมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ (relationship)
: เป็นสัญลักษณ์ของวงการฟุตบอลไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเชื่อมโยงทางประวัติความเป็นมาของประเทศไทย


ผล (result)
: เป็นสัญลักษณ์ให้กับกลุ่มคนที่เชียร์บอลไทย และทำหน้าที่สื่อสารให้กับชาวต่างชาติเพื่อเชื่อมโยงถึงประเทศไทย