วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ?

ผมคิดว่าโลกใบนี้มีหลายๆสิ่งที่วุ่นวายเต็มไปหมด ทั้งผู้คน วัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆนาๆ
นักออกแบบเป็นเหมือนคนที่คอยทำให้โลกนี้
มีความชัดเจนมากขึ้น ทำสิ่งที่ไม่น่าดูทำให้คนอยากจะจับต้องมากขึ้น
เป็นเหมือนแว่นขยายที่ขยายมุมมองเล็กๆที่น่าสนใจให้เป็นสิ่งใหญ่ที่ดี
และทำให้เกิดประโยชน์จากการมองสิ่งเล็กๆและสิ่งเล็กๆนั้นอาจจะเป็นสิ่งใหญ่ก็ว่าได้ อาจจะสรุปได้ว่านักออกแบบทำให้โลกใบนี้เกิดทุกอย่างก็ว่าได้
รวมถึงให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้นกว่าเดิม ... แน่นอน


ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ? คำถามนี้ผมรู้สึกว่าคำตอบของมันเป็นอะไรที่ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน แต่สำหรับผมคิดว่า โลกนี้ต้องมีนักออกแบบเพราะว่า
นักออกแบบสามารถจัดการสิ่งใหญ่ๆให้เป็นสิ่งเล็กๆได้ และสามารถทำให้สิ่งเล็กๆเกิดเป็นสิ่งใหญ่ๆที่น่าสนใจได้
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆสำหรับผมนักออกแบบคือ ผู้จัดการ หน้าที่ก็เหมือนผู้จัดการบริษัทต่างๆทั่วไป
คอยจัดการกับปัญหาต่างๆในบริษัทเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุดของบริษัท ทั้งนี้ทั้งนั้นนักออกแบบก็เหมือนผู้จัดการ


สรุปถ้าถามว่า ทำไมโลกนี้ต้องมี ...นักออกแบบ? ผมก็จะตอบว่า นักออกแบบเป็นผู้คอยแก้ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวัน
ทุกเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น ตั้งแต่เราตื่นนอน แต่งตัวออกไปข้างนอก เราต้องเลือกเสื้อผ้าที่จะใส่
นี่ก็คือเป็นการออกแบบ หรือตั้งแต่เราเกิด พ่อแม่ตั้งชื่อให้เราก็ถือเป็นการออกแบบ ก็สามารถบอกได้ว่า
ทุกอย่างบนโลกใบนี้มีความเกี่ยวข้องสืบโยงกับ การออกแบบ และนักออกแบบก็สำคัญต่อโลกใบนี้มาก


แล้วจะเขียนให้ยืดยาวทำไม?ว้าาา

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

" โลโก้ช้างศึกเชียร์ไทย "



"โลโก้ช้างศึกเชียร์ไทย" (2008)

โลโก้นี้ เป็นโลโก้กองเชียร์ทีมไทย
ออกแบบโดย อ็อด"สุรัตน์ โคตรมุงคุณ" ที่เป็นผู้ออกแบบโลโก้ให้กับอีกหลายสโมสรในไทยพีเมียร์ลีก

โลโก้นี้ใช้ช้างศึกเป็นตัวหลักเพราะว่าช้างเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยและเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของเรา
และเป็นสัตว์ที่แข็งแกร่ง สู้งาน ซื่อสัตย์ ซึ่งความหมายเหล่านี้เป็นความหมายที่ดีและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์อีกด้วย


สาร (messages)
: ช้างศึกเชียร์ไทย


แนวความคิด (concept)
: ช้างเป็นสัตว์ที่แข็งแรง แข็งแกร่ง และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย


รูปแบบการสื่อสาร (form)
: โลโก้


สื่อที่เลือกใช้ (media)
: ลายเสื้อ,ธงสัญลักษณ์,ฯลฯ


วิธีการสื่อสาร (how to communicate)
: สื่อสารผ่านลายเสื้อฯลฯ รวมถึงทางวัฒนธรรมการเชียร์บอล


เป็นการสื่อสารแบบทางตรงหรือทางอ้อม (direct or indirect communication)
: เป็นการสื่อสารทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ทางตรง คือ ลายเสื้อ,ธงสัญลักษณ์,ป้ายต่างๆ ฯลฯ
- ทางอ้อม คือ วัฒนธรรมการเชียร์บอล และ กลุ่มคนที่อยู่ในกลุ่มหรือองค์กร


กลุ่มเป้าหมาย (target group)
: คนที่สนใจฟุตบอลไทย ไม่จำกัดเพศและวัย



ความเชื่ีอมโยงทางสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ (relationship)
: เป็นสัญลักษณ์ของวงการฟุตบอลไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเชื่อมโยงทางประวัติความเป็นมาของประเทศไทย


ผล (result)
: เป็นสัญลักษณ์ให้กับกลุ่มคนที่เชียร์บอลไทย และทำหน้าที่สื่อสารให้กับชาวต่างชาติเพื่อเชื่อมโยงถึงประเทศไทย